ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศสเดินทางไกลไปยังประเทศที่อุดมไปด้วยป่าไม้ในภูมิภาคโอเชียเนียอย่างปาปัวนิวกินี โดยทันทีที่ไปถึงเมื่อวันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคมที่ผ่านมา นายเจมส์ มาราเป นายกรัฐมนตรีปาปัวนิวกินีให้การต้อนรับ สำนักข่าวต่างประเทศเผยแพร่ภาพของผู้นำทั้งสองคนที่อุทยานแห่งชาติวาริราตา ซึ่งทั้งสองประเทศได้ลงนามในข้อตกลงโครงการป่าไม้ ภูมิอากาศ และความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งเป็นความคิดริเริ่มด้านสิ่งแวดล้อม ขณะที่ฝรั่งเศสและสหภาพยุโรปก็ได้สนับสนุนเงินทุนด้านสิ่งแวดล้อมมาก่อนหน้านี้
คำพูดจาก นสล็อตออนไลน์
ออสเตรเลีย เล็งซื้อเรือดำน้ำนิวเคลียร์สหรัฐฯ คานอำนาจจีน
ผู้นำฝรั่งเศส ประณามผู้ประท้วงก่อเหตุรุนแรง
ในขณะที่จุดสุดท้ายที่ผู้นำทั้งสองเดินไปถึงคือเนินเขาในอุทยานที่มองเห็นเป็นภาพพาโนรามาของป่าไม้ที่กว้างใหญ่เป็นแนวยาว โดยจุดนี้ถูกเรียกเป็นชื่อใหม่ว่า “จุดชมวิว เอ็มมานูเอล ฌ็อง-มิเชล เฟรดเดริก มาครง” ซึ่งมาจากชื่อเต็มๆ ของผู้นำฝรั่งเศสนั่นเอง
การเยือนปาปัวนิวกินีของประธานาธิบดีมาครงอาจมองเป็นคลื่นของความพยายามเจริญสัมพันธ์ทางการทูตข้ามทวีปแปซิฟิก ซึ่งในที่นี้ยังรวมไปถึงภารกิจการเยือนก่อนหน้านี้ของนายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ และรัฐมนตรีกลาโหม พลเอกลอยด์ ออสตินด้วย อย่างไรก็ตาม การกระชับมิตรของทั้งฝรั่งเศสและสหรัฐ ยิ่งทำให้อุณหภูมิความขัดแย้งระหว่างสหรัฐและจีนเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการแข่งขันทางอิทธิพลในภูมิภาคแปซิฟิกใต้
รัฐบาลกรุงปักกิ่งก่อนหน้านี้ได้พยายามแสวงหาอิทธิพลผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การให้เงินทุนในโครงการหลากหลายแห่ง ซึ่งเมื่อปีที่แล้วจีนได้บรรลุข้อตกลงทางความมั่นคงกับประเทศหมู่เกาะโซโลมอน ด้านรัฐบาลวอชิงตันและชาติพันธมิตรก็ไม่ยอมน้อยหน้าพยายามไต่ระดับสัมพันธ์ทางการทูตด้วยการขยายกรอบความร่วมมือทางการทหารเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับรัฐบาลในแถบแปซิฟิก และไว้เป็นเกราะป้องกันจีนด้วย
ประธานาธิบดีมาครงเริ่มต้นภารกิจกระชับมิตรที่แรกคือประเทศนิว แคลิโดเนีย ก่อนจะเดินทางต่อไปยังสาธารณรัฐวานูอาตู และปาปัวนิวกินี ทำเนียบประธานาธิบดีได้กล่าวถึงจุดประสงค์ของภารกิจมาครงในครั้งนี้ว่า “เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมกันอีกครั้ง” โดยบทบาทของฝรั่งเศสในภูมิภาคแปซิฟิกจะเปรียบเสมือน “ผู้เสนอทางเลือก” ทั้งนี้ก็เพื่อจะเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งให้รัฐบาลในแถบแปซิฟิกได้เลือกนอกเหนือจากจีนที่เข้ามาสร้างอิทธิพล ซึ่งทางฝรั่งเศสมีการสันนิษฐานว่าจีนอาจต้องการเข้ามาสร้างอำนาจใน 3 อาณานิคมนี้ของฝรั่งเศสคือนิวแคลิโดเนีย เฟรนช์โพลินิเชีย และ วาลลิสและฟุตูนา
มาครงต้องการใช้การเยือนในครั้งนี้เพื่อบอกกับเหล่าผู้นำในประเทศแถบแปซิฟิกว่าฝรั่งเศสเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงภัยคุกคามจากภาวะโลกร้อน ไม่ว่าจะเป็นระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น หรือหนองน้ำที่แห้งแล้งสัตว์ป่าเสี่ยงสูญพันธุ์ สภาพอากาศที่เลวร้ายมากขึ้น และภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น มาครงยกตัวอย่างและเน้นย้ำถึงเหตุการณ์ที่ประเทศนิวแคลิโดเนีย ประเทศที่ซึ่งแถบชายฝั่งต้องตกอยู่ในความเสี่ยง รวมทั้งหมู่เกาะทั้งหลายที่ถูกคุกคามในสาธารณรัฐวานูอาตู ที่ซึ่งมาครงร่วมเรียกร้องให้ยุติการใช้พลังงานฟอสซิล กระนั้นแผนการพยายามผลักดันเพิ่มความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อมผ่านวิถีทางการทูตในภูมิภาคแปซิฟิกไม่ได้มีแค่เพียงฝรั่งเศสเท่านั้น สหรัฐอเมริกา จีน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ก็ได้พยายามช่วยเหลือทางการเงินให้แก่กลุ่มประเทศในแถบนี้เช่นเดียวกัน
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าก่อนหน้าภารกิจของมาครง นายบลิงเคนและพลเอกออสติน 2 รัฐมนตรีจากสหรัฐฯ ได้เดินทางไปยังปาปัวนิกินี ในขณะเดียวกันปาปัวนิวกินีเองก็ยังได้ให้การต้อนรับนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีของอินเดียด้วยในปีนี้ นอกจากนี้ก็ยังมีแอนโทนี อัลบาเนซี นายกรัฐมนตรีของออสเตรเลีย และโจโก วิโดโด ประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย
ย้อนกลับไปช่วงการเยือนปาปัวนิวกินีของพลเอกออสตินที่พอร์ตมอร์สบี เมืองหลวงของปาปัวนิวกินี ทั้ง 2 ประเทศได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือทางความมั่นคง โดยในข้อตกลงนี้จะทำให้กองกำลังของประเทศในแถบหมู่เกาะแปซิฟิกมีศักยภาพมากขึ้นจากการอนุญาตให้กองทัพสหรัฐฯ เข้ามาตั้งฐานทัพและฝึกสอน ซึ่งพลเอกออสตินย้ำชัดว่าสหรัฐฯ ไม่ได้เล็งที่จะตั้งฐานทัพที่นี่ถาวร แต่ยังคงมีสัมพันธ์ที่ยาวนานกับปาปัวนิวกินี และจะร่วมแบ่งปันวิสัยทัศน์และเปิดกว้างในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ซึ่งทางสหรัฐฯ เข้าใจเป็นอย่างดีถึงกฎระเบียบ พื้นฐานของแต่ละประเทศและเคารพคุณค่าโดยไม่ก้าวล่วงในระเบียบระหว่างประเทศ
นายกรัฐมนตรีของปาปัวนิวกินี นายมาราเประบุว่าจากความสัมพันธ์นี้จะทำให้การทหารของปาปัวนิวกินีได้รับผลประโยชน์ แต่สิ่งสำคัญไปกว่านั้นคือจะนำพาให้เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาขึ้นไปด้วย
อย่างไรก็ตาม ในเวลาเดียวกันที่จีนพยายามเจริญสัมพันธ์กับประเทศในแถบนี้ รัฐบาลวอชิงตันระบุว่าสิ่งนี้เห็นได้ชัดว่าจีนมีความพยายามอย่างแรงกล้าที่จะขยับขยายอิทธิพล โดยพลเอกออสตินเคยพูดถึงจีนว่ามี “พฤติกรรมที่ชอบรังแกอื่น หรือบูลลี”
ขณะที่เมื่อครั้งที่นายบลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐเยือนภูมิภาคแปซิฟิกในการไปเปิดสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศตองกา เขากล่าวถึงจีนว่ามีพฤติกรรมที่ชอบนำพาความยุ่งเหยิง ในช่วงระหว่างการแถลงข่าวร่วมกับนายกรัฐมนตรีของตองกา นายซิอาโอซิ โซวาเลนี โดยบลิงเคนระบุเพิ่มเติมว่าทางสหรัฐไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับสิ่งที่จีนทำเพียงแต่กังวลเกี่ยวกับโครงการการลงทุนของจีนในภูมิภาคนี้ว่าจำเป็นจะต้องโปร่งใส
ด้านแมทธิว มิลเลอร์ โฆษกประจำกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ระบุว่านายบลิงเคนและนายโซวาเลนียังได้พูดคุยกันถึงประเด็นปัญหารัดับโลก เช่น วิกฤตโลกร้อนที่ส่งผลกระทบโดยตรงในภูมิภาคแปซิฟิก ซึ่งทางสหรัฐได้พยายามติดตามความคืบหน้าและเฝ้าสังเกตวิกฤตนี้มาโดยตลอด
ในขณะที่ข้อตกลงโครงการป่าไม้ ภูมิอากาศ และความหลากหลายทางชีวภาพที่ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ทางฝรั่งเศสและปาปัวนิวกินีทำร่วมกันนั้น ก็ถูกมองว่าเป็นความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของชาติตะวันตกที่พยายามจะแข่งสร้างอิทธิพลกับจีนในภูมิภาคแปซิฟิกนี้